การสร้างเสริมสุขภาพบุคลากร

01  Health promotion คืออะไร?

      เป็นกระบวนการในการเพิ่มความสามารถให้กับบุคลากร
เพื่อให้สามารถควบคุมและพัฒนาสุขภาพของตนเองได้
แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลจากการประชุมส่งเสริมสุขภาพโลกในปี 1986 ที่เมือง Ottawa ได้ออกเอกสารที่เรียกว่า ‘Ottawa Charters หรือ กฎบัตรออตตาวา’ กลายมาเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้โลกเริ่มมีมุมมองต่อการดูแลสุขภาพกว้างขึ้น จากเดิมที่มองว่าเราจะมีสุขภาพดีได้ต้องดูแลตัวเอง เช่น การเลือกรับประทานอาหารออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพประจำ แต่ Ottawa Charter มองว่าคนเราจะมีสุขภาพดีได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ตนเองเท่านั้น แต่สังคม สภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ชุมชน สถานที่ทำงานต่างก็มีผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น ดังนั้น การดูแลสุขภาพดีจึงไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียวแต่เป็นเรื่องที่สถาบันซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายสามารถออกแบบ ควบคุมสิ่งแวดล้อมเพื่อให้พฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพเกิดได้ ง่าย ขึ้น



                02  Health promotion สำคัญกับ NARIT อย่างไร? เนื่องจากสถาบันได้ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากร สนับสนุนให้บุคลากรมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี ไม่เป็นโรคจากการทำงาน โดยรายงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม  จากการสำรวจสุขภาพบุคลากร 3 ปีย้อนหลัง พบว่า อัตราการป่วยอุบัติใหม่ด้วยโรคกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากผลการสำรวจ BRFSS พบว่า กลุ่มวัยทำงานอายุ 18-59 ปี มีดัชนีมวลกาย(BMI) มากกว่าเกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้นทุกปีและพบว่าสถานการณ์ภาวะอ้วนลงพุงของประชากรกลุ่มวัยทำงานเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในทุกจังหวัด โดยข้อมูลจากระบบรายงาน HDCพบว่าความชุกของภาวะอ้วนในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังพบอุบัติการณ์โรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง และมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางตา ภาวะไตวายเรื้อรัง โรคเครียดจากการทำงาน ซึ่งโรคดังกล่าวมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทำให้แนวโน้มการเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาลเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการทำงาน และส่งผลกระทบต่อองค์กร สอดคล้องกับรายงานการตรวจสุขภาพ ประจำปี 2564 ของบุคลากร สดร. จำนวน 135 คน พบว่า มีค่าดัชนีมวลกาย อ้วน 11.85%  ท้วม 31.85 % และมีโคเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ คิดเป็น 65.19%

   NARIT มีแนวคิดว่า "การที่บุคลากรมีสุขภาพที่ดี เขาก็จะมีความสุข และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ"   การทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพจึงเป็นโครงการสำคัญที่จะเป็นการกระตุ้นให้บุคลกรในสถาบันรักสุขภาพ โดยใช้สภาพแวดล้อมที่เพื่อนร่วมงานร่วมกันออกกำลังกาย  และ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรค โดยคาดหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร

03 เราต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้ Health Promotion เป็นจริงและ

มีประสิทธิภาพ ?

- การสร้างนโยบายเพื่อสุขภาพ :  มองไปถึงการใช้เครื่องมือทางด้านกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะปฏิบัติงานในสังกัดในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ทำให้บุคลากรมี ‘Healthy life style’ หรือการมีพฤติกรรมที่ดี  เช่น การออกกฎว่าผู้ที่ปฏิบัติงานเป็นช่างซ่อมบำรุง จะต้องมีค่า BMI ไม่เกิน 32 เพื่อที่จะได้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวเเละปลอดภัย

การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ : เช่น การจัดให้มีพื้นที่สำหรับออกกำลังกาย

การส่งเสริมกิจกรรมให้เข้มแข็ง :   เช่น การติดป้ายแสดงแคลอรี่บริเวณบันไดเพื่อกระตุ้นให้คนเดินเผาผลาญพลังงาน

การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล : เช่น การจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพในรูปแบบต่างๆ

การปรับเปลี่ยนการบริการสุขภาพ :  แทนที่จะเน้นตั้งรับรอให้ไปรักษา  โดยปรับตั้งแต่การคัดกรองมองหาผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพหรืออาจจะนำมาสู่การเจ็บป่วยในอนาคตและหาวิธีป้องกัยให้แก่บุคลากร